ข้อแนะนำสำหรับผู้เขียน

ประเภทบทความที่เผยแพร่ใน WESR

แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก มีดังนี้
1) บทความต้นฉบับ
• การสอบสวนทางระบาดวิทยา
• งานวิจัยทางระบาดวิทยา
• การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
• การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
• บทความฟื้นวิชา
• รายงานผู้ป่วย
2) สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
3) รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
4) สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
5) รายงานการสอบสวนเบื้องต้นของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ/รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่แจ้งเตือน/แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/ผลการดำเนินงานการศึกษาวิจัย
หมายเหตุ : บทความประเภทที่ 5 จะมีความไม่แน่นอนในการเผยแพร่

รายละเอียดประเภทบทความที่เผยแพร่ใน WESR

1. บทความต้นฉบับ

1.1) การสอบสวนทางระบาดวิทยา เป็นรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเกิดโรค/ภัยประกอบด้วย สาเหตุปัจจัยของการเกิดโรค/ภัย แหล่งโรค/ภัย วิธีการถ่ายทอดโรค รวมถึงวิธีการกระจายของโรค/ภัย

องค์ประกอบรายงาน

บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัย ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า

< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง> 10 การอ้างอิง

1.2) งานวิจัยทางระบาดวิทยา การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ตั้งคำถามการศึกษา เพื่อตอบคำถามวิจัย เลือกประเภทการศึกษา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการศึกษามาตรการควบคุมโรค การป้องกันโรค นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรค/ภัยทางสาธารณสุข โดยคำนึงถึงเรื่องจริยธรรม (Ethic)

องค์ประกอบรายงาน

บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัย ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า

< 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง

> 10 การอ้างอิง

1.3) การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง การศึกษา/ประเมินระบบการจัดการ และการเฝ้าระวังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยาและงานควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคจากการประกอบอาชีพ

องค์ประกอบรายงาน

บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า

< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง

> 10 การอ้างอิง

1.4) การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ เป็นรายงานข้อมูลจากการเฝ้าระวังระบบต่าง ๆ วิเคราะห์ อธิบายลักษณะการเกิดโรคและการกระจายของโรค ตามบุคคล เวลา และสถานที่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค หรือนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 

องค์ประกอบรายงาน

บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า

1.5) บทความฟื้นวิชา บทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วยบทนำวิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้

องค์ประกอบรายงาน

บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 8 หน้า

< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง

> 10 การอ้างอิง

1.6) รายงานผู้ป่วย รายงานกรณีศึกษาที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่/หรือพบยาก ต้องมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน

องค์ประกอบรายงาน

ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง

ความยาวของเรื่อง < 10 หน้า

< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง

> 10 การอ้างอิง

2. สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์

ทีม WATCH กรมควบคุมโรค เป็นผู้จัดทำและรวบรวมเหตุการณ์การระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งได้รับรายงานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 13 แห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค

องค์ประกอบรายงาน

รายละเอียดเหตุการณ์การสอบสวนการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง และการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้วหรือต้องทำต่อไป
การประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆ
ข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ (อาจมีหรือไม่มี)

ตารางหรือรูปภาพเสริม (ไม่บังคับ)

ความยาวของเรื่อง < 10 หน้า

3. รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา

จัดทำโดยบุคลากรของกองระบาดวิทยา ซึ่งกองระบาดวิทยาเป็นหน่วยงานรวบรวมข้อมูลในภาพรวมระดับประเทศ จากการได้รับรายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเครือข่ายด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวบรวมรายงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

องค์ประกอบรายงาน

  • นำเสนอจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ รายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง
  • ความครอบคลุมในการรายงาน
  • ตารางนำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ

4. สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ

จัดทำโดยบุคลากรของกองระบาดวิทยา หรือ บุคลากรของกรมควบคุมโรค เป็นการนำเสนอสถานการณ์โรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆ ทั้งในประเทศ/ต่างประเทศ  

องค์ประกอบรายงาน

ประกอบด้วยชื่อเรื่อง สรุปสั้น ๆ ภายใต้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรคหากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ และระบบเฝ้าระวังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเมินความเสี่ยง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่ เอกสารอ้างอิง

ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 4 หน้า

5. บันทึกจากทีมภาคสนาม/รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่แจ้งเตือน/แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/ความคืบงานการศึกษาวิจัย

จัดทำโดยบุคลากรกองระบาดวิทยา หรือ บุคลากรของกรมควบคุมโรค

5.1) บันทึกทีมภาคสนาม (Note from the field) เป็นบทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือเพิ่งเกิดขึ้นซึ่งมีความสำคัญด้านสาธารณสุข เช่น การสอบสวนการระบาด กลุ่มก้อนที่มีอาการผิดปกติ ข่าวการระบาดที่ผิดปกติจากต่างประเทศ หรือ รายงานกรณีศึกษา (case report) ที่มีความสำคัญ

องค์ประกอบรายงาน

ประกอบด้วยชื่อเรื่อง สรุปสั้น ๆ ภายใต้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ความเป็นมา การสอบสวนและผลการสอบสวนเหตุการณ์ บทสรุปเบื้องต้นและการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ องค์ประกอบอื่น เช่น กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิงความยาวไม่ควรเกิน 1-3 หน้า

< 1 ตาราง รูปภาพ

> 5 การอ้างอิง

5.2) การสื่อสารเชิงรุกเป็นรายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่ได้รับการแจ้งเตือน สื่อสารให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้อ่านในวงกว้าง เพื่อลดการตื่นตระหนก ลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพในวงกว้าง

องค์ประกอบรายงาน

ประกอบด้วยชื่อเรื่อง สรุปสั้น ๆ ภายใต้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการระบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

เอกสารอ้างอิงความยาวไม่ควรเกิน 3 หน้า

5.3) แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ความเป็นมา นิยามในการเฝ้าระวังโรค การจำแนกผู้ป่วย การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค วิธีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การนำส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการ องค์ประกอบอื่น เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ภาคผนวก เอกสารอ้างอิง

5.4) ความคืบหน้าโครงการวิจัย

ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ความเป็นมา การดำเนินการและผลการศึกษาวิจัย องค์ประกอบอื่น เช่น กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง

ความยาวไม่ควรเกิน 1-3 หน้า

< 2 ตาราง รูปภาพ

> 5 การอ้างอิง