ข้อแนะนำสำหรับผู้เขียน
ประเภทบทความที่เผยแพร่ใน WESR
แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก มีดังนี้
1) รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
2) สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
3) รายงานการสอบสวนเบื้องต้นของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ/รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่แจ้งเตือน/แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/ผลการดำเนินงานการศึกษาวิจัย
4) สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
5) บทความต้นฉบับ
• การสอบสวนทางระบาดวิทยา
• งานวิจัยทางระบาดวิทยา
• การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
• การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
• บทความฟื้นวิชา
• รายงานผู้ป่วย
หมายเหตุ : บทความประเภทที่ 3 จะมีความไม่แน่นอนในการเผยแพร่
ข้อกำหนดของบทความแยกตามประเภท
1. รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
รายงานจัดทำโดยบุคลากรของกองระบาดวิทยา กองระบาดวิทยาเป็นหน่วยงานรวบรวมข้อมูลในภาพรวมระดับประเทศ จากการได้รับรายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเครือข่ายด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวบรวมรายงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
องค์ประกอบรายงาน
มีรายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง/จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ
มีข้อเสนอแนะและมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคเบื้องต้น
ตารางนำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ
2. สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
ทีม WATCH กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดทำและรวบรวมข่าวการระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 13 แห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค
องค์ประกอบรายงาน
ผลการสอบสวน การระบาดของโรค ปัจจัยเสี่ยง และการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้วหรือต้องทำต่อไป
มีการประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆ
ข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ (อาจมีหรือไม่มี)
ตารางหรือรูปภาพเสริม (ไม่บังคับ)
3. รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่ได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งรวมถึงแนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/รายงานเบื้องต้นของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ/ความคืบหน้าโครงการวิจัย/การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ*
- สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ
เป็นการนำเสนอสถานการณ์โรคที่มีการระบาดในช่วงสัปดาห์นั้น ๆ โดยมีรายละเอียด การระบาดในประเทศ หรือพบการระบาดในต่างประเทศ โดยวิเคราะห์ลักษณะทางระบาดวิทยา นำเสนอข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาเชื้อ และระบบเฝ้าระวังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะ องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรคหากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่ การสื่อสารความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป เอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 5 หน้า - การสื่อสารเชิงรุก เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้อ่านในวงกว้าง เพื่อลดการตื่นตระหนก ลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพในวงกว้าง องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการะบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะ ในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
- การสอบสวนโรค/ภัยเบื้องต้น เป็นการอธิบายการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพที่ดำเนินการสอบสวนในช่วงแรกหลังได้รับรายงานการระบาด องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ การดำเนินการสอบสวนเบื้องต้น สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพในพื้นที่ รายละเอียดผู้ป่วย/การระบาด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/สิ่งแวดล้อม สรุปการสอบสวนเบื้องต้น มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค การสื่อสารความเสี่ยงในระดับส่วนกลาง/พื้นที่ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 5 หน้า
4. บทความต้นฉบับ
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา
เป็นรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเกิดโรค/ภัยประกอบด้วย สาเหตุปัจจัยของการเกิดโรค/ภัย แหล่งโรค/ภัย วิธีการถ่ายทอดโรค รวมถึงวิธีการกระจายของโรค/ภัย องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง - ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - งานวิจัยทางระบาดวิทยา
การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ตั้งคำถามการศึกษา เพื่อตอบคำถามวิจัย เลือกประเภทการศึกษา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการศึกษามาตรการควบคุมโรค การป้องกันโรค นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรค/ภัยทางสาธารณสุข โดยคำนึงถึงเรื่องจริยธรรม (Ethic) องค์ประกอบรายงาน: ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะกิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
การศึกษา/ประเมินระบบการจัดการ และการเฝ้าระวังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยาและงานควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคจากการประกอบอาชีพ องค์ประกอบรายงาน: ควรประกอบด้วย องค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไป บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
เป็นรายงานข้อมูลจากการเฝ้าระวังระบบต่าง ๆ วิเคราะห์ อธิบายลักษณะการเกิดโรคและการกระจายของโรค ตามบุคคล เวลา และสถานที่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค หรือนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
- บทความฟื้นวิชา บทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วยบทนำวิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิง
- ความยาวของเรื่อง < 8 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - รายงานผู้ป่วย รายงานกรณีศึกษาที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่/หรือพบยาก ต้องมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง
ความยาวของเรื่อง < 10 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง
การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- ขั้นตอนการส่งบทความผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ และข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล
- การเขียนชื่อเจ้าของบทความหลัก email เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ทำงาน ขอให้เป็นไปตามรูปแบบที่ WESR กำหนด (โปรดดูตัวอย่างในวารสาร)
- การเตรียมต้นฉบับ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ (กำหนดตามหัวข้อ) คำสำคัญ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่ WESR กำหนด
- การอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามหลักเกณฑ์ Vancouver และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนงานวิชาการ (Plagiarism)
- ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun New การแสดงรูปภาพ แผนภูมิ และตารางขอให้อยู่ในเนื้อหาที่สอดคล้องกัน
- ผู้เขียนต้องส่งหนังสือ/บันทึกข้อความแสดงความจำนงลงผลงานตีพิมพ์ใน WESR โดยได้ผ่านการรับรองความถูกต้องของบทความจากสังกัดที่ทำงาน
กระบวนการทบทวนรายงานการเฝ้าระวัง
ทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR)
คำแนะนำผู้แต่ง
ประเภทบทความที่เผยแพร่
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) จัดประเภทบทความที่เผยแพร่ออกเป็น 4 ประเภทหลัก โดยกองระบาดวิทยาได้ดำเนินการเผยแพร่รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบสถานการณ์โรคทันท่วงที และสามารถเตรียมตัวรับมือป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เนื้อหาข้อมูลประเภทที่ 1-3 นี้ ไม่ได้รับการทบทวนโดยผู้ประเมินบทความ แต่ได้รับการตรวจสอบโดยบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่ ส่วนบทความต้นฉบับที่ได้รับจากผู้เขียนจะผ่านการตรวจสอบโดยผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่
คำแนะนำการจัดรูปแบบต้นฉบับ
องค์ประกอบรายงาน
• ชื่อเรื่อง
- ควรสั้นและกระชับ ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทเนื้อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มีรายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง/
จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพท. ต่าง ๆ
มีข้อเสนอแนะและมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคเบื้องต้น
ตารางนำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ
< หรือ = 3 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
• ชื่อผู้นิพนธ์
- ควรระบุชื่อ-สกุลเต็ม (ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม) และสถานที่ทำงาน/สังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคน ควรระบุชื่อเรียงตามการมีส่วนร่วมในบทความ ใส่ตัวเลขในรูปแบบตัวเลขยกหลังนามสกุลของผู้แต่งทุกท่านซึ่งเชื่อมโยงกับสังกัดที่ระบุมาร่วมด้วย รวมทั้งระบุ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อ
ผลการสอบสวน การระบาดของโรค ปัจจัยเสี่ยง และการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้วหรือต้องทำต่อไปมีการประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ (อาจมีหรือไม่มี)
<3 ตารางหรือรูปภาพเสริม (ไม่บังคับ)
• บทคัดย่อ
- การย่อเนื้อหาสำคัญ เอาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลขทางสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ เขียนเป็นหัวข้อ คือ บทนำและวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย และข้อเสนอแนะ ไม่ต้องมีเชิงอรรถ ไม่อ้างอิง บทคัดย่อต้องเขียนทั้งภาษาไทย ไม่เกิน 550 คำ และภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 450 คำ
ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดย
รวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรค หากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรการดำเนินการควบ
คุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่การสื่อสารความเสี่ยงสิ่งที่ต้องดำเนิน การต่อไป เอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 4 หน้า
• เนื้อเรื่อง
ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้น กะทัดรัดและชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ตัดคำฟุ่มเฟื่อย ควรใช้เท่าที่จำเป็น (เท่ากับ คิดเป็น จะ ซึ่ง แสดง โดย) หากมีการใส่หน่วยทางวิทยาศาสตร์ควรระบุหน่วยเต็ม ไม่ใช้คำย่อ
ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการะบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะ ในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
• บทนำ
- กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมของงานที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ การดำเนินการสอบสวนเบื้องต้น สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพในพื้นที่ รายละเอียดผู้ป่วย/การระบาด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/สิ่งแวดล้อม สรุปการสอบสวนเบื้องต้น มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค การสื่อสารความเสี่ยงในระดับส่วนกลาง/พื้นที่ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
• วัสดุและวิธีการ
- อธิบายระเบียบวิธีวิจัยรวมถึงแหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่างข้อมูล และเครื่องมือการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลและหลักการทางสถิติที่ใช้
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการ
ศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่องการอ้างอิงขั้นต่ำที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคำแนะนำ < หรือ = 10 เชิงอรรถ
• ผลการศึกษา
- อธิบายผลการศึกษา/วิจัยโดยละเอียด แสดงผลสอดคล้องกับวิธีการศึกษา/วิจัย ตลอดจนตีความผลการวิจัยหรือการวิเคราะห์
ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง < หรือ = 10 เชิงอรรถ
• อภิปราย
- วิเคราะห์ผลการศึกษา/วิจัยที่ได้ผลอย่างไร เป็นไปตามที่คิดหรือไม่ และอ้างอิง ทฤษฎีหรือการศึกษาใด ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและตามด้วยลำดับเนื้อเรื่อง
ดังต่อไป บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• ข้อจำกัดในการศึกษา
- ลักษณะของข้อมูลหรือการวิเคราะห์ที่อาจส่งผลต่อความถูกต้องหรือความถูกต้องของผลลัพธ์ โดยเขียนในรูปแบบย่อหน้าให้เป็นลำดับ ตัวอย่างเช่น ‘ประการที่ 1 2 และ 3’ โดยลงท้ายด้วย ‘สำหรับข้อจำกัดสุดท้าย’ ระบุว่าข้อจำกัดแต่ละข้ออาจส่งผลต่อผลลัพธ์อย่างไร
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า
• ข้อเสนอแนะ
- (ถ้ามี) ควรเป็นการระบุใคร/หน่วยงานใด ดำเนินการอย่างไร กับใครหรือหน่วยงานใด เมื่อใด
ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิงควรเป็นปัจจุบัน ความยาวของเรื่อง < หรือ = 8 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพหรือกล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• บทสรุป
- (ถ้ามี) สรุปบทความวิจัยและเสนอแนะเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการทำงานต่อไป
ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 10 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพ หรือ
กล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• รูปและตาราง
- ชื่อรูปและชื่อตารางควรตรงกับเนื้อหาโดยละเอียด ชื่อตารางใส่ด้านบนของตาราง ชื่อรูปใส่บริเวณด้านล่างของรูป ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ กราฟ แผนผัง แผนที่ ให้ระบุเป็น ‘รูปที่’ ทั้งหมด หากเป็นกราฟต้องใส่คำอธิบายแกน X, Y ในกราฟเท่านั้น และต้องแก้ไขได้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในรูปหรือตาราง เป็น TH Sarabun New ไม่ควรต่ำกว่าขนาด 13
• คำสำคัญ
- เป็นคำที่แสดงถึงเนื้อหาของบทความ โดยย่อเหลือเพียงคำที่แสดงใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง เพื่อช่วยในการสืบค้นและเข้าถึงเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น คำสำคัญควรสั้น กะทัดรัด ชัดเจน มีจำนวน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อ
• การอ้างอิง
- การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบ Vancouver เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย ผู้นิพนธ์ต้องแปลรายการเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษและระบุ “(in Thai)” ท้ายรายการเอกสารอ้างอิงนั้น ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบในความถูกต้องของเอกสารที่อ้างอิง การอ้างถึงเนื้อหาบทความในแต่ละข้อความควรมีหมายเลขเฉพาะ พิมพ์หมายเลขในวงเล็บเป็นลักษณะตัวพิมพ์ยกข้างท้ายข้อความที่อ้าง ตัวอย่างเช่น …สูงสุดในประเทศไทย (1) เริ่มต้นที่หมายเลข 1 การอ้างอิงครั้งแรกและเรียงลำดับต่อเนื่องกันโดยตลอดจนถึงท้ายบท ถ้าผู้เขียนอ้างอิงบทความนั้นมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ใช้หมายเลขอ้างอิงเดียวกัน กรณีเป็นวารสารต่างประเทศ กรุณาใช้ชื่อย่อตามหนังสือ Index Medicus ข้อผิดพลาดใด ๆ เกี่ยวกับการอ้างอิงจะทำให้กระบวนการส่งล่าช้าเนื่องจากการขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เขียนเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ
รูปแบบบทความ
- รูปแบบต้นฉบับ
ใช้โปรแกรม MS-Word แบบตัวอักษรเป็น TH Sarabun New ขนาด 16 การใช้ทศนิยม
สามารถยอมรับทศนิยมหนึ่งหรือสองตำแหน่งได้ ดังนั้นโปรดใช้รูปแบบทศนิยมเดียวกันทั้งเอกสารการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
ภาพประกอบ ไดอะแกรม หรือรูปภาพ
ควรใช้หมึกสีดำ หากใช้เป็นสีควรมีลวดลายแตกต่างเพื่อความชัดเจน รูปถ่ายควรอยู่ในไฟล์งานนำเสนอหรือใช้โปสการ์ดทุกสี และเขียนคำอธิบายแยกต่างหาก ห้ามขีดเขียนลงบนภาพ
ส่งบทความทางออนไลน์
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) ยอมรับเฉพาะบทความต้นฉบับที่ส่งทางระบบออนไลน์โดยใช้ระบบ ThaiJo
ให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความออนไลน์ผ่านลิงก์ เริ่มส่งบทความต้นฉบับ
หากต้องการเริ่มการส่งใหม่หรือตรวจสอบการส่งที่รอดำเนินการไปแล้ว โปรดคลิก การส่งที่รอดำเนินการ
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ
นโยบายส่วนบุคคล
วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR) ให้ความสำคัญต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 และดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเชื่อมั่นว่าวารสารฯ จะดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม
- คำนิยาม
“วารสารฯ” หมายถึง วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (Weekly Epidemiology Surveillance Report: WESR)
“บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดา
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ อาทิ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล (email address) IP Address, Cookie ID, Log File เป็นต้น อย่างไรก็ดี ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล อาทิ ชื่อบริษัท ที่อยู่ของบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคลของบริษัท หมายเลขโทรศัพท์ของที่ทำงาน ที่อยู่อีเมล (email address) ที่ใช้ในการทำงาน ที่อยู่อีเมล (email address) ข้อมูลนิรนาม (Anonymous Data) หรือข้อมูลแฝงที่ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีการทางเทคนิค (Pseudonymous Data) ข้อมูลผู้ถึงแก่กรรม เป็นต้น
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Subject) หมายถึง ตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น แต่ไม่ใช่กรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของข้อมูล (Ownership) หรือเป็นผู้สร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นเอง โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะหมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น และไม่รวมถึง “นิติบุคคล” (Juridical Person) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรอื่นใด
ทั้งนี้ หากการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
“การประมวลผล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวม
วารสารฯ เก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น การสมัคร ลงทะเบียน ทำแบบสำรวจ ภาพถ่าย วีดีโอกิจกรรมการประชุม/อบรม หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับวารสารฯ ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดย วารสารฯ เป็นต้น
2.2 ข้อมูลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
2.3 ข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่วารสารฯ เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่วารสารฯ มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้
นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่วารสารฯ ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณีให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่วารสารฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของวารสารฯ อาจเป็นผลให้วารสารฯ ไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
- การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(1) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัดและเท่าที่จำเป็น โดยขึ้นอยู่กับประเภทของบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้บริการหรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับวารสารฯ เช่น การลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การลงทะเบียนขอใช้บริการต่าง ๆ การลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการประเมินวารสาร เป็นต้น ทั้งที่ผ่านวารสารฯ โดยตรงและผ่านระบบสารสนเทศของวารสารฯ ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(2) การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับวารสารฯ โดยใช้อย่างเหมาะสมและมีมาตรการ
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
(3) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อประเภทของบุคคลและช่องทางดังต่อไปนี้
- หน่วยงานต้นสังกัดของท่าน เช่น กรณีหน่วยงานร้องขอเป็นหนังสือมายังวารสารฯ ขอให้จัดส่งรายงานข้อมูลผู้เข้าประชุมซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัดของหน่วยงาน เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ หรือบุคคลอื่นเพื่อการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งของผู้มีอำนาจ คำสั่งหรือหมายศาล เป็นต้น
- หน่วยงานเครือข่าย คู่สัญญา ผู้ให้บริการหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องหรือมีความจำเป็นในการให้บริการของวารสารฯ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลของท่าน เช่น ผู้ให้บริการระบบฐานข้อมูล ผู้จัดส่งเอกสารหรือผู้พัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น
- ประกาศต่อสาธารณะ ในกรณีเช่น การค้นหาข้อมูลการตีพิมพ์บทความ การประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม รูปภาพ คลิปวีดีโอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประชุม สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมหรือวิทยากรปรากฏเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของสื่อ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของวารสารฯ tci-thailand.org และประกาศผ่านสื่อ Social Media ของวารสารฯ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรณีที่การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากท่านก่อน วารสารฯ จะดำเนินการขอความยินยอมตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ ใช้วิธีการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดยจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในการติดต่อให้บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในกิจการหรือกิจกรรมของวารสารฯ ภายใต้วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของวารสารฯ เท่านั้น หรือตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ สำนักงานจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ และบันทึกเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตราบเท่าที่จำเป็นต่อการประมวลผล เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษาดังกล่าวหรือไม่มีความจำเป็นที่จะประมวลผลอีกต่อไป วารสารฯ จะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
- สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ความยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับวารสารฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลยังคงใช้ได้จนกว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะเพิกถอนความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเพิกถอนความยินยอมหรือระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ หรือทุกกิจกรรมของวารสารฯ โดยส่งคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแจ้งให้วารสารฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ wesr@ddc.mail.go.th
นอกจากสิทธิดังกล่าวข้างต้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลยังมีสิทธิในการปกป้องข้อมูลหลักของคุณ ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไว้แก่วารสารฯ ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของตนอยู่กับวารสารฯ
(2) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนและขอให้วารสารฯ ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงขอให้วารสารฯ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมต่อวารสารฯ ได้
(3) สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้วารสารฯ แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์
(4) สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้วารสารฯ ทำการลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้
(5) สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้
(6) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิให้วารสารฯ โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ไว้กับวารสารฯ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หรือตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเองด้วยเหตุบางประการได้
(7) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้ วารสารฯ เคารพการตัดสินใจการเพิกถอนความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม ขอแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าอาจมีข้อจำกัดสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไว้แล้ว
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ นอกจากนี้ วารสารฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติภายในหน่วยงานเพื่อกำหนดสิทธิในการเข้าถึงหรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล และวารสารฯ จะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าวเป็นระยะเพื่อความเหมาะสม
- ข้อมูลการใช้เว็บไซต์
8.1 ในขณะที่คุณใช้เว็บไซต์ WESR วารสารฯ จะติดตามและบันทึกการเข้าชมของคุณในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าในไฟล์บันทึกเว็บเซิร์ฟเวอร์ (“ข้อมูลบันทึก”) ข้อมูลบันทึกอาจถูกใช้โดย WESR เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเพื่อรู้จักแนวโน้มการใช้เว็บไซต์และเพื่อปรับปรุงโครงสร้างและการนำเสนอเนื้อหา ข้อมูลการใช้ที่วารสารฯเก็บรวบรวม (โดยใช้ HTTP Cookies) รวมถึง URL ที่อ้างอิง ลักษณะของเบราว์เซอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่ IP ระบบปฏิบัติการ และวันที่และเวลาของการเข้าชมเว็บไซต์ เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าชมเว็บไซต์ในครั้งถัดไป เว็บไซต์จะจดจำได้ว่าเป็นผู้ใช้ที่เคยเข้าใช้บริการแล้ว และตั้งค่าตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด จนกว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะลบคุกกี้ (Cookies) หรือไม่อนุญาตให้คุกกี้ (Cookies) นั้นทำงานอีกต่อไป ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถที่จะยอมรับหรือไม่รับคุกกี้ (Cookies) ก็ได้ ในกรณีที่เลือกที่จะไม่รับหรือลบคุกกี้ (Cookies) เว็บไซต์อาจจะไม่สามารถให้บริการหรือไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
8.2 เว็บไซต์ WESR อาจใช้ Google Analytics เพื่อช่วยให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเยี่ยมชมเว็บไซต์ WESR ทางวารสารฯจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อรวบรวมรายงานและช่วยให้เราปรับปรุงเว็บไซต์ เครื่องมือคุกกี้จะเก็บข้อมูลในรูปแบบที่ไม่ระบุชื่อ รวมถึงจำนวนผู้เยี่ยมชมในเว็บไซต์ ที่บุคคลนั้น ๆ เข้ามายังเว็บไซต์จากเบราว์เซอร์หรือเพจไหน และหน้าเพจที่บุคคลนั้น ๆ เยี่ยมชมขณะอยู่บนเว็บไซต์
- การปรับปรุงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ อาจทำการปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมิต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ดังนั้น วารสารฯ จึงขอแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอ่านนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้งที่เยี่ยมชมหรือใช้บริการจากวารสารฯ หรือเว็บไซต์ของวารสารฯ
- การปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับวารสารฯ
ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ วารสารฯ ยินดีตอบข้อสงสัย และรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการให้บริการของวารสารฯ ต่อไป โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อกับวารสารฯ ได้ที่ wesr@ddc.mail.go.th หรือตามที่อยู่ด้านล่างนี้
ประเภทบทความที่เผยแพร่ใน WESR
แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก มีดังนี้
1) รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
2) สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
3) รายงานการสอบสวนเบื้องต้นของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ/รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่แจ้งเตือน/แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/ผลการดำเนินงานการศึกษาวิจัย
4) สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
5) บทความต้นฉบับ
• การสอบสวนทางระบาดวิทยา
• งานวิจัยทางระบาดวิทยา
• การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
• การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
• บทความฟื้นวิชา
• รายงานผู้ป่วย
หมายเหตุ : บทความประเภทที่ 3 จะมีความไม่แน่นอนในการเผยแพร่
ข้อกำหนดของบทความแยกตามประเภท
1. รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
รายงานจัดทำโดยบุคลากรของกองระบาดวิทยา กองระบาดวิทยาเป็นหน่วยงานรวบรวมข้อมูลในภาพรวมระดับประเทศ จากการได้รับรายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเครือข่ายด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวบรวมรายงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
องค์ประกอบรายงาน
มีรายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง/จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ
มีข้อเสนอแนะและมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคเบื้องต้น
ตารางนำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ
2. สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
ทีม WATCH กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดทำและรวบรวมข่าวการระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 13 แห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค
องค์ประกอบรายงาน
ผลการสอบสวน การระบาดของโรค ปัจจัยเสี่ยง และการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้วหรือต้องทำต่อไป
มีการประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆ
ข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ (อาจมีหรือไม่มี)
ตารางหรือรูปภาพเสริม (ไม่บังคับ)
3. รายงานเหตุการณ์ด้านสุขภาพที่ได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งรวมถึงแนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/รายงานเบื้องต้นของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ/ความคืบหน้าโครงการวิจัย/การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ*
- สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ
เป็นการนำเสนอสถานการณ์โรคที่มีการระบาดในช่วงสัปดาห์นั้น ๆ โดยมีรายละเอียด การระบาดในประเทศ หรือพบการระบาดในต่างประเทศ โดยวิเคราะห์ลักษณะทางระบาดวิทยา นำเสนอข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาเชื้อ และระบบเฝ้าระวังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะ องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรคหากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่ การสื่อสารความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป เอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 5 หน้า - การสื่อสารเชิงรุก เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้อ่านในวงกว้าง เพื่อลดการตื่นตระหนก ลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพในวงกว้าง องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการะบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะ ในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
- การสอบสวนโรค/ภัยเบื้องต้น เป็นการอธิบายการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพที่ดำเนินการสอบสวนในช่วงแรกหลังได้รับรายงานการระบาด องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ การดำเนินการสอบสวนเบื้องต้น สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพในพื้นที่ รายละเอียดผู้ป่วย/การระบาด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/สิ่งแวดล้อม สรุปการสอบสวนเบื้องต้น มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค การสื่อสารความเสี่ยงในระดับส่วนกลาง/พื้นที่ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 5 หน้า
4. บทความต้นฉบับ
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา
เป็นรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเกิดโรค/ภัยประกอบด้วย สาเหตุปัจจัยของการเกิดโรค/ภัย แหล่งโรค/ภัย วิธีการถ่ายทอดโรค รวมถึงวิธีการกระจายของโรค/ภัย องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง - ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - งานวิจัยทางระบาดวิทยา
การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ตั้งคำถามการศึกษา เพื่อตอบคำถามวิจัย เลือกประเภทการศึกษา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการศึกษามาตรการควบคุมโรค การป้องกันโรค นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรค/ภัยทางสาธารณสุข โดยคำนึงถึงเรื่องจริยธรรม (Ethic) องค์ประกอบรายงาน: ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะกิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
การศึกษา/ประเมินระบบการจัดการ และการเฝ้าระวังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยาและงานควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคจากการประกอบอาชีพ องค์ประกอบรายงาน: ควรประกอบด้วย องค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไป บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
เป็นรายงานข้อมูลจากการเฝ้าระวังระบบต่าง ๆ วิเคราะห์ อธิบายลักษณะการเกิดโรคและการกระจายของโรค ตามบุคคล เวลา และสถานที่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค หรือนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < 14 หน้า
- บทความฟื้นวิชา บทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วยบทนำวิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิง
- ความยาวของเรื่อง < 8 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง - รายงานผู้ป่วย รายงานกรณีศึกษาที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่/หรือพบยาก ต้องมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน องค์ประกอบรายงาน: ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง
ความยาวของเรื่อง < 10 หน้า
< 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
> 10 การอ้างอิง
การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- ขั้นตอนการส่งบทความผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ และข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล
- การเขียนชื่อเจ้าของบทความหลัก email เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ทำงาน ขอให้เป็นไปตามรูปแบบที่ WESR กำหนด (โปรดดูตัวอย่างในวารสาร)
- การเตรียมต้นฉบับ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ (กำหนดตามหัวข้อ) คำสำคัญ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่ WESR กำหนด
- การอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามหลักเกณฑ์ Vancouver และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนงานวิชาการ (Plagiarism)
- ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun New การแสดงรูปภาพ แผนภูมิ และตารางขอให้อยู่ในเนื้อหาที่สอดคล้องกัน
- ผู้เขียนต้องส่งหนังสือ/บันทึกข้อความแสดงความจำนงลงผลงานตีพิมพ์ใน WESR โดยได้ผ่านการรับรองความถูกต้องของบทความจากสังกัดที่ทำงาน
กระบวนการทบทวนรายงานการเฝ้าระวัง
ทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR)
คำแนะนำผู้แต่ง
ประเภทบทความที่เผยแพร่
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) จัดประเภทบทความที่เผยแพร่ออกเป็น 4 ประเภทหลัก โดยกองระบาดวิทยาได้ดำเนินการเผยแพร่รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบสถานการณ์โรคทันท่วงที และสามารถเตรียมตัวรับมือป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เนื้อหาข้อมูลประเภทที่ 1-3 นี้ ไม่ได้รับการทบทวนโดยผู้ประเมินบทความ แต่ได้รับการตรวจสอบโดยบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่ ส่วนบทความต้นฉบับที่ได้รับจากผู้เขียนจะผ่านการตรวจสอบโดยผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่
คำแนะนำการจัดรูปแบบต้นฉบับ
องค์ประกอบรายงาน
• ชื่อเรื่อง
- ควรสั้นและกระชับ ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทเนื้อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มีรายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง/
จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพท. ต่าง ๆ
มีข้อเสนอแนะและมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคเบื้องต้น
ตารางนำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ
< หรือ = 3 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง
• ชื่อผู้นิพนธ์
- ควรระบุชื่อ-สกุลเต็ม (ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม) และสถานที่ทำงาน/สังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคน ควรระบุชื่อเรียงตามการมีส่วนร่วมในบทความ ใส่ตัวเลขในรูปแบบตัวเลขยกหลังนามสกุลของผู้แต่งทุกท่านซึ่งเชื่อมโยงกับสังกัดที่ระบุมาร่วมด้วย รวมทั้งระบุ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อ
ผลการสอบสวน การระบาดของโรค ปัจจัยเสี่ยง และการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้วหรือต้องทำต่อไปมีการประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ (อาจมีหรือไม่มี)
<3 ตารางหรือรูปภาพเสริม (ไม่บังคับ)
• บทคัดย่อ
- การย่อเนื้อหาสำคัญ เอาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลขทางสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ เขียนเป็นหัวข้อ คือ บทนำและวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย และข้อเสนอแนะ ไม่ต้องมีเชิงอรรถ ไม่อ้างอิง บทคัดย่อต้องเขียนทั้งภาษาไทย ไม่เกิน 550 คำ และภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 450 คำ
ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดย
รวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรค หากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรการดำเนินการควบ
คุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่การสื่อสารความเสี่ยงสิ่งที่ต้องดำเนิน การต่อไป เอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 4 หน้า
• เนื้อเรื่อง
ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้น กะทัดรัดและชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ตัดคำฟุ่มเฟื่อย ควรใช้เท่าที่จำเป็น (เท่ากับ คิดเป็น จะ ซึ่ง แสดง โดย) หากมีการใส่หน่วยทางวิทยาศาสตร์ควรระบุหน่วยเต็ม ไม่ใช้คำย่อ
ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการะบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะ ในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
• บทนำ
- กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมของงานที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ การดำเนินการสอบสวนเบื้องต้น สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพในพื้นที่ รายละเอียดผู้ป่วย/การระบาด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/สิ่งแวดล้อม สรุปการสอบสวนเบื้องต้น มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค การสื่อสารความเสี่ยงในระดับส่วนกลาง/พื้นที่ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 4 หน้า
• วัสดุและวิธีการ
- อธิบายระเบียบวิธีวิจัยรวมถึงแหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่างข้อมูล และเครื่องมือการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลและหลักการทางสถิติที่ใช้
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการ
ศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่องการอ้างอิงขั้นต่ำที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคำแนะนำ < หรือ = 10 เชิงอรรถ
• ผลการศึกษา
- อธิบายผลการศึกษา/วิจัยโดยละเอียด แสดงผลสอดคล้องกับวิธีการศึกษา/วิจัย ตลอดจนตีความผลการวิจัยหรือการวิเคราะห์
ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 5 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง < หรือ = 10 เชิงอรรถ
• อภิปราย
- วิเคราะห์ผลการศึกษา/วิจัยที่ได้ผลอย่างไร เป็นไปตามที่คิดหรือไม่ และอ้างอิง ทฤษฎีหรือการศึกษาใด ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและตามด้วยลำดับเนื้อเรื่อง
ดังต่อไป บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปราย ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพ หรือกล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• ข้อจำกัดในการศึกษา
- ลักษณะของข้อมูลหรือการวิเคราะห์ที่อาจส่งผลต่อความถูกต้องหรือความถูกต้องของผลลัพธ์ โดยเขียนในรูปแบบย่อหน้าให้เป็นลำดับ ตัวอย่างเช่น ‘ประการที่ 1 2 และ 3’ โดยลงท้ายด้วย ‘สำหรับข้อจำกัดสุดท้าย’ ระบุว่าข้อจำกัดแต่ละข้ออาจส่งผลต่อผลลัพธ์อย่างไร
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
ความยาวของเรื่อง < หรือ = 14 หน้า
• ข้อเสนอแนะ
- (ถ้ามี) ควรเป็นการระบุใคร/หน่วยงานใด ดำเนินการอย่างไร กับใครหรือหน่วยงานใด เมื่อใด
ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิงควรเป็นปัจจุบัน ความยาวของเรื่อง < หรือ = 8 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพหรือกล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• บทสรุป
- (ถ้ามี) สรุปบทความวิจัยและเสนอแนะเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการทำงานต่อไป
ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่อง < หรือ = 10 หน้า < หรือ = 4 ตาราง รูปภาพ หรือ
กล่อง < หรือ = 10 การอ้างอิง
• รูปและตาราง
- ชื่อรูปและชื่อตารางควรตรงกับเนื้อหาโดยละเอียด ชื่อตารางใส่ด้านบนของตาราง ชื่อรูปใส่บริเวณด้านล่างของรูป ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ กราฟ แผนผัง แผนที่ ให้ระบุเป็น ‘รูปที่’ ทั้งหมด หากเป็นกราฟต้องใส่คำอธิบายแกน X, Y ในกราฟเท่านั้น และต้องแก้ไขได้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในรูปหรือตาราง เป็น TH Sarabun New ไม่ควรต่ำกว่าขนาด 13
• คำสำคัญ
- เป็นคำที่แสดงถึงเนื้อหาของบทความ โดยย่อเหลือเพียงคำที่แสดงใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง เพื่อช่วยในการสืบค้นและเข้าถึงเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น คำสำคัญควรสั้น กะทัดรัด ชัดเจน มีจำนวน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อ
• การอ้างอิง
- การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบ Vancouver เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย ผู้นิพนธ์ต้องแปลรายการเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษและระบุ “(in Thai)” ท้ายรายการเอกสารอ้างอิงนั้น ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบในความถูกต้องของเอกสารที่อ้างอิง การอ้างถึงเนื้อหาบทความในแต่ละข้อความควรมีหมายเลขเฉพาะ พิมพ์หมายเลขในวงเล็บเป็นลักษณะตัวพิมพ์ยกข้างท้ายข้อความที่อ้าง ตัวอย่างเช่น …สูงสุดในประเทศไทย (1) เริ่มต้นที่หมายเลข 1 การอ้างอิงครั้งแรกและเรียงลำดับต่อเนื่องกันโดยตลอดจนถึงท้ายบท ถ้าผู้เขียนอ้างอิงบทความนั้นมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ใช้หมายเลขอ้างอิงเดียวกัน กรณีเป็นวารสารต่างประเทศ กรุณาใช้ชื่อย่อตามหนังสือ Index Medicus ข้อผิดพลาดใด ๆ เกี่ยวกับการอ้างอิงจะทำให้กระบวนการส่งล่าช้าเนื่องจากการขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เขียนเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ
รูปแบบบทความ
- รูปแบบต้นฉบับ
ใช้โปรแกรม MS-Word แบบตัวอักษรเป็น TH Sarabun New ขนาด 16 การใช้ทศนิยม
สามารถยอมรับทศนิยมหนึ่งหรือสองตำแหน่งได้ ดังนั้นโปรดใช้รูปแบบทศนิยมเดียวกันทั้งเอกสารการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
ภาพประกอบ ไดอะแกรม หรือรูปภาพ
ควรใช้หมึกสีดำ หากใช้เป็นสีควรมีลวดลายแตกต่างเพื่อความชัดเจน รูปถ่ายควรอยู่ในไฟล์งานนำเสนอหรือใช้โปสการ์ดทุกสี และเขียนคำอธิบายแยกต่างหาก ห้ามขีดเขียนลงบนภาพ
ส่งบทความทางออนไลน์
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) ยอมรับเฉพาะบทความต้นฉบับที่ส่งทางระบบออนไลน์โดยใช้ระบบ ThaiJo
ให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความออนไลน์ผ่านลิงก์ เริ่มส่งบทความต้นฉบับ
หากต้องการเริ่มการส่งใหม่หรือตรวจสอบการส่งที่รอดำเนินการไปแล้ว โปรดคลิก การส่งที่รอดำเนินการ
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ
นโยบายส่วนบุคคล
วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR) ให้ความสำคัญต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 และดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเชื่อมั่นว่าวารสารฯ จะดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม
- คำนิยาม
“วารสารฯ” หมายถึง วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (Weekly Epidemiology Surveillance Report: WESR)
“บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดา
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ อาทิ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล (email address) IP Address, Cookie ID, Log File เป็นต้น อย่างไรก็ดี ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล อาทิ ชื่อบริษัท ที่อยู่ของบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคลของบริษัท หมายเลขโทรศัพท์ของที่ทำงาน ที่อยู่อีเมล (email address) ที่ใช้ในการทำงาน ที่อยู่อีเมล (email address) ข้อมูลนิรนาม (Anonymous Data) หรือข้อมูลแฝงที่ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีการทางเทคนิค (Pseudonymous Data) ข้อมูลผู้ถึงแก่กรรม เป็นต้น
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Subject) หมายถึง ตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น แต่ไม่ใช่กรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของข้อมูล (Ownership) หรือเป็นผู้สร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นเอง โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะหมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น และไม่รวมถึง “นิติบุคคล” (Juridical Person) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรอื่นใด
ทั้งนี้ หากการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
“การประมวลผล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวม
วารสารฯ เก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น การสมัคร ลงทะเบียน ทำแบบสำรวจ ภาพถ่าย วีดีโอกิจกรรมการประชุม/อบรม หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับวารสารฯ ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดย วารสารฯ เป็นต้น
2.2 ข้อมูลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
2.3 ข้อมูลส่วนบุคคลที่วารสารฯ เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่วารสารฯ เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่วารสารฯ มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้
นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่วารสารฯ ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณีให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่วารสารฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของวารสารฯ อาจเป็นผลให้วารสารฯ ไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
- การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(1) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัดและเท่าที่จำเป็น โดยขึ้นอยู่กับประเภทของบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้บริการหรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับวารสารฯ เช่น การลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การลงทะเบียนขอใช้บริการต่าง ๆ การลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการประเมินวารสาร เป็นต้น ทั้งที่ผ่านวารสารฯ โดยตรงและผ่านระบบสารสนเทศของวารสารฯ ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(2) การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับวารสารฯ โดยใช้อย่างเหมาะสมและมีมาตรการ
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
(3) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อประเภทของบุคคลและช่องทางดังต่อไปนี้
- หน่วยงานต้นสังกัดของท่าน เช่น กรณีหน่วยงานร้องขอเป็นหนังสือมายังวารสารฯ ขอให้จัดส่งรายงานข้อมูลผู้เข้าประชุมซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัดของหน่วยงาน เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ หรือบุคคลอื่นเพื่อการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งของผู้มีอำนาจ คำสั่งหรือหมายศาล เป็นต้น
- หน่วยงานเครือข่าย คู่สัญญา ผู้ให้บริการหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องหรือมีความจำเป็นในการให้บริการของวารสารฯ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลของท่าน เช่น ผู้ให้บริการระบบฐานข้อมูล ผู้จัดส่งเอกสารหรือผู้พัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น
- ประกาศต่อสาธารณะ ในกรณีเช่น การค้นหาข้อมูลการตีพิมพ์บทความ การประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม รูปภาพ คลิปวีดีโอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประชุม สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมหรือวิทยากรปรากฏเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของสื่อ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของวารสารฯ tci-thailand.org และประกาศผ่านสื่อ Social Media ของวารสารฯ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรณีที่การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากท่านก่อน วารสารฯ จะดำเนินการขอความยินยอมตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ ใช้วิธีการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดยจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในการติดต่อให้บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในกิจการหรือกิจกรรมของวารสารฯ ภายใต้วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของวารสารฯ เท่านั้น หรือตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ สำนักงานจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ และบันทึกเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตราบเท่าที่จำเป็นต่อการประมวลผล เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษาดังกล่าวหรือไม่มีความจำเป็นที่จะประมวลผลอีกต่อไป วารสารฯ จะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
- สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ความยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับวารสารฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลยังคงใช้ได้จนกว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะเพิกถอนความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเพิกถอนความยินยอมหรือระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ หรือทุกกิจกรรมของวารสารฯ โดยส่งคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแจ้งให้วารสารฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ wesr@ddc.mail.go.th
นอกจากสิทธิดังกล่าวข้างต้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลยังมีสิทธิในการปกป้องข้อมูลหลักของคุณ ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไว้แก่วารสารฯ ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของตนอยู่กับวารสารฯ
(2) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนและขอให้วารสารฯ ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงขอให้วารสารฯ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมต่อวารสารฯ ได้
(3) สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้วารสารฯ แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์
(4) สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้วารสารฯ ทำการลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้
(5) สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้
(6) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิให้วารสารฯ โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ไว้กับวารสารฯ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หรือตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเองด้วยเหตุบางประการได้
(7) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตนด้วยเหตุบางประการได้ วารสารฯ เคารพการตัดสินใจการเพิกถอนความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม ขอแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าอาจมีข้อจำกัดสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไว้แล้ว
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ จัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ นอกจากนี้ วารสารฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติภายในหน่วยงานเพื่อกำหนดสิทธิในการเข้าถึงหรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล และวารสารฯ จะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าวเป็นระยะเพื่อความเหมาะสม
- ข้อมูลการใช้เว็บไซต์
8.1 ในขณะที่คุณใช้เว็บไซต์ WESR วารสารฯ จะติดตามและบันทึกการเข้าชมของคุณในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าในไฟล์บันทึกเว็บเซิร์ฟเวอร์ (“ข้อมูลบันทึก”) ข้อมูลบันทึกอาจถูกใช้โดย WESR เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเพื่อรู้จักแนวโน้มการใช้เว็บไซต์และเพื่อปรับปรุงโครงสร้างและการนำเสนอเนื้อหา ข้อมูลการใช้ที่วารสารฯเก็บรวบรวม (โดยใช้ HTTP Cookies) รวมถึง URL ที่อ้างอิง ลักษณะของเบราว์เซอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่ IP ระบบปฏิบัติการ และวันที่และเวลาของการเข้าชมเว็บไซต์ เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าชมเว็บไซต์ในครั้งถัดไป เว็บไซต์จะจดจำได้ว่าเป็นผู้ใช้ที่เคยเข้าใช้บริการแล้ว และตั้งค่าตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด จนกว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะลบคุกกี้ (Cookies) หรือไม่อนุญาตให้คุกกี้ (Cookies) นั้นทำงานอีกต่อไป ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถที่จะยอมรับหรือไม่รับคุกกี้ (Cookies) ก็ได้ ในกรณีที่เลือกที่จะไม่รับหรือลบคุกกี้ (Cookies) เว็บไซต์อาจจะไม่สามารถให้บริการหรือไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
8.2 เว็บไซต์ WESR อาจใช้ Google Analytics เพื่อช่วยให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเยี่ยมชมเว็บไซต์ WESR ทางวารสารฯจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อรวบรวมรายงานและช่วยให้เราปรับปรุงเว็บไซต์ เครื่องมือคุกกี้จะเก็บข้อมูลในรูปแบบที่ไม่ระบุชื่อ รวมถึงจำนวนผู้เยี่ยมชมในเว็บไซต์ ที่บุคคลนั้น ๆ เข้ามายังเว็บไซต์จากเบราว์เซอร์หรือเพจไหน และหน้าเพจที่บุคคลนั้น ๆ เยี่ยมชมขณะอยู่บนเว็บไซต์
- การปรับปรุงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
วารสารฯ อาจทำการปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมิต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ดังนั้น วารสารฯ จึงขอแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอ่านนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้งที่เยี่ยมชมหรือใช้บริการจากวารสารฯ หรือเว็บไซต์ของวารสารฯ
- การปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับวารสารฯ
ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ วารสารฯ ยินดีตอบข้อสงสัย และรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการให้บริการของวารสารฯ ต่อไป โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อกับวารสารฯ ได้ที่ wesr@ddc.mail.go.th หรือตามที่อยู่ด้านล่างนี้